อาเซียน (ASEAN)






           ระชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
            อาเซียน เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซาลาม, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งรายนามประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น โดยอาเซียน มีชื่อเรียกเต็มๆว่า "Association of Southeast Asian Nations" หรือ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"




    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือกำเนิดขึ้นโดย "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration) หรือ "ปฏิญญาอาเซียน" (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง ภายหลังจึงได้มีอีก 5 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม จึงทำให้ "อาเซียน" มีสมาชิกเป็น 10 ประเทศดังเช่นในปัจจุบัน

ปฏิญญากรุงเทพ

             ในการจัดตั้งอาเซียน ภายในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเอาไว้ถึง 7 ข้อ อันได้แก่ 
  1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 
  2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 
  3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 
  4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
  5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
  7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
            นอกจากอาเซียนนั้นจะมีความน่าสนใจในแง่ของความร่วมมือกันด้านต่างๆ ของทั้ง 10 ประเทศแล้ว อาเซียน ยังมีข้อมูลอีกบางประการที่เราควรจะต้องรู้เอาไว้ เผื่อว่าคุยกับใครๆ จะได้รู้เรื่อง !
  • เมื่อปี 2554 ประเทศในภูมิอาเซียนมีประชากรรวมกันมากถึง 620 ล้านค้น
  • ภูมิภาคอาเซียนมีอาณาเขตพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร
  • ในภูมิภาคอาเซียนมีประชากรที่นับถือศาสนาแตกต่างกันทั้งพุทธิ อิสลาม คริสต์ และฮินดู
  • ประเทศในภูมิภาคที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด คือ อินโดนีเซีย และประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์
  • ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนมีมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม เท่ากับ 2.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับว่าเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
  • ค่าการส่งออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวม 2.0 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ


ตราสัญลักษณ์อาเซียน

"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
ตราสัญลักษณ์อาเซียน
  • รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
  • วงกลม หมายถึง เอกภาพของอาเซียน
  • ตัวอักษร "asean" สีน้ำเงินใต้ภาพรวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน


สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน

ซึ่งนอกจากตราสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในความเป็นอาเซียนแล้ว สีที่ใช้ก็ยังมีส่วนที่ช่วยเสริมให้อาเซียนมีพลัง สามารถดำเนินไปได้ด้วยความอดทน และมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน
สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ 
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง


ธงประจำแต่ละประเทศสมาชิก

ในส่วนของ "ธงอาเซียน" ใช้พื้นธงเป็นสีน้ำเงิน มีตราสัญลักษณ์อาเซียนอยู่ตรงกลาง แสดงถึงความมีเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน ซึ่งสีที่ใช้อันประกอบไปด้วย สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว และสีเหลือง ล้วนแต่เป็นสีหลักในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิ้น
ธงอาเซียน
               นอกจากนั้น "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ยังได้กำหนดให้ทุกๆ วันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันอาเซียน" อีกทั้งยังมีเพลงประจำอาเซียนที่ชื่อว่า "ASEAN Way" สำหรับขับร้องในวันที่ 8 อีกด้วยแน่นอนว่าการอยู่รวมกันเป็นหมู่มากอาจทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการควบคุม เช่นเดียวกันกับการที่แต่ละประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตัดสินใจเข้ามาอยู่รวมกันเพื่อจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน แต่ก็ยังมีความต่างทั้งในด้านของพื้นที่ เชื้อชาติ ประชากร และการดำรงชีวิต ที่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนให้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันได้ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" จึงได้ร่างเป็น "กฎบัตรอาเซียน" ที่เปรียบเสมือนกับรัฐธรรมนูญของอาเซียน โดยภายในได้รวบรวมเอาค่านิยม หลักการ การทำงานของอาเซียนซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญอย่างเป็นทางการบันทึกไว้ ตลอดจนขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนการทำงาน ความสัมพันธ์ อีกทั้งภารกิจที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการจนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายไปได้ด้วยดี
                "กฎบัตรอาเซียน" ได้มีการลงนามรับรองจากผู้นำอาเซียนในแต่ละประเทศไปเมื่อครั้งที่มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ได้เปลี่ยนแปลงให้ "อาเซียน" กลายเป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล อีกทั้งยังได้มีการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เป็นผลให้ "กฎบัตรอาเซียน" มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป

สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียนมีด้วยกัน 13 หมวด

  • หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
  • หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมายของอาเชียน
  • หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
  • หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
  • หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
  • หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
  • หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
  • หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
  • หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
  • หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
  • หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
  • หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
  • หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย

อาเซียนต่อประเทศไทย 

อาเซียนส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทย
          เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่วงหลังของปี 2558 ได้มีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือ เพื่อนบ้านของเราจะเดินทางเข้าออกประเทศไทย เพื่อเข้ามาท่องเที่ยว หรือแม้แต่เข้ามาประกอบอาชีพต่างๆ กันได้อย่างอิสระมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถเดินทางเข้าออกไปในอีก 9 ประเทศสมาชิกก็ได้เช่นเดียวกัน ในส่วนของการประกอบอาชีพ คนไทยเองต้องหันกลับมามองที่ตัวเอง ว่าเรามีความสามารถพอที่จะพัฒนาความสามารถให้ทัดเทียมกับเพื่อนบ้านเราได้หรือไม่ ยิ่งในปัจจุบันนี้งานเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ความสามารถด้านภาษาที่ 2 คือ ภาษาอังกฤษ เราก็ยังไม่แข็งแรง แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะมีแต่ข้อเสีย ในด้านเศรษฐกิจเราก็ยังมีความได้เปรียบต่อเพื่อนบ้านของเรามาก มาดูกันดีกว่าว่าอาเซียนมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจอย่างไรต่อประเทศไทยของเราบ้าง
  • ประการที่ 1 การเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเรามีมูลค่ารวมกันกว่า 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ทำให้เกิดประโยชน์ด้านการค้าขาย ให้คนไทยได้ยืนหยัดได้ด้วยความสง่างาม จากนั้น "ยิ้มสยาม" ก็จะถูกมองเห็นได้เด่นขึ้น มีหน้ามีตา และมีฐานะที่ดีขึ้น
  • ประการที่ 2 ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น ผู้ผลิตสามารถขยับขยายธุรกิจของตนเองได้ง่าย ส่งออกสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้การค้าขายระหว่างไทยกับอาเซียนคล่องตัว อีกทั้งกำแพงภาษีที่เคยสูงก็จะลดลง เพราะตลาดการค้าใน 10 ประเทศจะรวมกันกลายเป็นตลาดเดียว
  • ประการที่ 3 ตลาดการค้าของไทยเราจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน กลายเป็นตลาดของคนอีก 950 ล้านคน ส่งผลให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่มีเสถียรภาพ สามารถลงสนามแข่งขันกับจีนและอินเดียเพื่อดึงดูดให้มีผู้มาลงทุนได้มากขึ้น เป็นผลมาจากการผลิตสินในประเทศไทยสามารถส่งออกไปค้าขายยังอีก 9 ประเทศสมาชิกได้เหมือนกับการส่งของไปขายยังต่างจังหวัด
  • ประการที่ 4 การรวมตัวกันเป็นประชาคม จะทำให้มีสังคมขนาดใหญ่ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในด้านการค้าและการลงทุน อีกทั้งการติดต่อสื่อสาร ได้ไปมาหาสู่ ติดต่อสื่อสารกันจะช่วยให้ประชากรในประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีความสนิทสนมและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมากขึ้น ก่อให้เกิดผลดีต่อสันติสุขในสังคม ก่อเกิดเป็นความเข้าใจอันดี ตลอดจนเกิดความร่วมกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ให้อีกหลากหลายมิติ
  • ประการที่ 5 ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์และทำเลซึ่งตั้งอยู่บนจุดกึ่งกลางภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ดังนั้นประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่ง โดยมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นภายในอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับเจียน มากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า และปั๊มน้ำมันจะได้รับประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด หากมองกันให้ชัด การเปิดประชาคมอาเซียนอาจจะยังส่งผลทั้งด้านลบและด้านบวกต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่ที่พวกเราคนไทยจะเตรียมรับมือกับการเปิดประชาคมนี้อย่างไร

แผนที่อาเซียน
                   เพื่อให้พวกเราได้รู้จักกับประเทศสมาชิกอีก 9 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยในด้านต่างๆ ในอาเซียน ให้มากขึ้น คราวนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน ถามอะไรก็ตอบได้ ให้สมกับเป็นประชาคมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลยดีกว่า 

สื่อวิดีโอ (Video)


เพลง อาเซียน  (ASIAN WAY Anthem of ASIAN)



กำเนิด ASEAN community



ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน




ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน




ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน





ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้